วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อุกกาบาต

อุกกาบาต



อุกกาบาต คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก" เราสามารถพบอุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร อุกกาบาตประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ปะปนอยู่ในอุกกาบาตบางชนิดเท่านั้น ซึ่งจะเป็นชนิดเหล็กและนิกเกิล
การเกิดอุกกาบาต

ดาวหางคือก้อนหรือกลุ่มของกาซพวกมีเธนแอมโมเนียที่เป็นของแข็งด้วยความเย็นจัดในอวกาศกับน้ำแข็งที่ปะปนอยู่กับฝุ่นละอองอุกาบาตซึ่งเป็นอนุภาคของ เหล็ก นิเกิล แคลเซียมแมกนีเซียม และธาตุอื่นๆ

เมื่อกลุ่มก้อนพวกนี้ถูกดวงอาทิตย์ดึงดูดก็จะเคลื่อนที่เข้าหาเส้นทางโคจรของดวงอาทิตย์

เราจะเห็นดาวหางได้เฉพาะเมื่อมันเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์และเรืองแสงจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ดาวหางมีใจกลางส่วนหัวและส่วนหาง  หางของดาวหางบางดวงยาวถึง300ล้านกิโลเมตร                                          

ดาวหางที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ผ่านมาคือดาวหางฮัลเล่ย์ซึ่งจะมาเยือนโลกทุกๆ76ปี

อุกกาบาตในไทย
วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2550 เวลาประมาณ 19.40 น. ได้มีรายงานการเห็นลูกไฟขนาดใหญ่ ส่องแสงสว่างสีเขียวอมน้ำเงินเจิดจ้าสวยงามมาก เคลื่อนผ่านท้องฟ้าโดยสามารถเห็นได้ในพื้นที่ภาคกลางตอนบนถึงภาคเหนือ วันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านที่ จ.ตาก อ้างว่าเก็บก้อนหินที่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตได้ เป็นข่าวที่สร้างความแตกตื่นอยู่ไม่กี่วันจนกระทั่งกรมทรัพยากรธรณีได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปตรวจพิสูจน์ พบก้อนหินดังกล่าวเป็นสีขาว ผิวขรุขระ มีรูพรุนทั่วทั้งก้อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว น้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้วิเคราะห์และสรุปว่าเป็นทูฟา (Tufa) ตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีหรือการระเหยของน้ำจนทำให้เกิดการพอกเป็นเปลือกชั้นบาง ๆ โดยมักพบบริเวณน้ำพุ ธารน้ำไหล หรือในถ้ำ ไม่มีลักษณะที่แสดงว่าเป็นอุกกาบาตจากนอกโลกแต่อย่างใด
ดาวตกที่สว่างมากซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่าลูกไฟหรือทับศัพท์ว่าไฟร์บอล (fireball) อย่างที่เห็นในคืนวันที่ 14 กรกฎาคมนั้นโดยปกติไม่ค่อยมีให้เราได้เห็นบ่อย ๆ ส่วนอุกกาบาตที่ตกลงสู่พื้นโลกยิ่งมีพบเห็นได้น้อยมาก แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วทั้งสองอย่างอาจมีอยู่พอสมควรแต่ส่วนใหญ่ไปตกในพื้นที่ป่า มหาสมุทร หรือสถานที่ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่
ก้อนหินจากอวกาศที่ตกลงบนพื้นโลกซึ่งเราเรียกว่าอุกกาบาตนั้นเป็นชิ้นส่วนของวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อุกกาบาตเหล่านี้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาการก่อกำเนิดและความเป็นมาของระบบสุริยะที่เราอยู่ อาจแบ่งประเภทของอุกกาบาตที่พบได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุกกาบาตหิน อุกกาบาตเหล็ก และอุกกาบาตเหล็กปนหิน นับถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการค้นพบก้อนอุกกาบาตที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงบันทึกไว้ 3 ครั้ง ได้แก่ อุกกาบาตนครปฐม (2466) อุกกาบาตเชียงคาน (2524) และอุกกาบาตบ้านร่องดู่ (2536) ข้อมูลด้านล่างนี้บางส่วนนำมาจากบทความของคุณพิชิต อิทธิศานต์ ตีพิมพ์ในนิตยสารอัพเดท ฉบับกรกฎาคม 2536 และจากฐานข้อมูลอุกกาบาตของสหรัฐอเมริกาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต

อุกกาบาตนครปฐม

อุกกาบาตนครปฐมตกลงมาจากฟ้าเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2466 โดยทะลุผ่านหลังคายุ้งข้าวของนายยอด ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม อุกกาบาตนครปฐมมีสองก้อน ก้อนเล็กหนัก 9.6 กิโลกรัม รวมสองก้อนหนักถึง 32.2 กิโลกรัม จัดเป็นอุกกาบาตหิน มีเหล็กเป็นส่วนผสมประมาณ 22% รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาขอยืมก้อนเล็กไปศึกษา และได้บริจาคชิ้นส่วนหนัก 413 กรัมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสหรัฐฯ

อุกกาบาตเชียงคาน

อุกกาบาตเชียงคานเป็นอุกกาบาตหิน ประกอบด้วยอุกกาบาตก้อนเล็ก ๆ หลายก้อน ค้นพบหลังจากมีลูกไฟขนาดใหญ่สว่างกว่าแสงจันทร์ พุ่งผ่านท้องฟ้าภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อเวลา 5.30 น. ของเช้ามืดวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2524 ลูกไฟนั้นไประเบิดเหนือท้องฟ้าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใกล้พรมแดนไทย-ลาว มีเสียงดังกึกก้องกัมปนาทได้ยินไปทั่วจังหวัดเลยและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง อุกกาบาตตกกระจัดกระจายในพื้นที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร
ทีมสำรวจจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.ระวี ภาวิไล เก็บรวบรวมอุกกาบาตได้ 31 ก้อน น้ำหนักรวม 367 กรัม ลูกใหญ่ที่สุดหนัก 51.3 กรัม มีข้อสันนิษฐานว่าหากอุกกาบาตเชียงคานไม่ได้เป็นชิ้นส่วนจากแถบดาวเคราะห์น้อยหลักซึ่งโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล ต้นกำเนิดของฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกที่เกิดเป็นประจำในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งประเทศไทยและเอเชียมองเห็นได้มากและชัดเจนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และ 2544

อุกกาบาตบ้านร่องดู่

อุกกาบาตบ้านร่องดู่เป็นอุกกาบาตลูกสุดท้ายที่มีรายงานพบในประเทศไทย ตกลงมาในคืนวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2536 เวลาประมาณ 20.45 น. บริเวณพื้นที่ใกล้บ้านของนายสาลีและนางคำหล้า รักก้อน บ้านร่องดู่ ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การตรวจสอบโดยนายสิโรตม์ ศัลยพงษ์ และ ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ฝ่ายวิจัยธรณีวิทยา กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ยืนยันว่าเป็นอุกกาบาตเหล็ก มีประกายโลหะและความถ่วงจำเพาะสูง พบริ้วโลหะเป็นทางบนผิวอุกกาบาตซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับบรรยากาศโลก ผิวนอกสุดมีรอยไหม้ ด้านหนึ่งมีรอยยุบบุบแบบก้นหม้อ อีกด้านฉีกขาดเป็นร่องหลืบ ลักษณะทั่วไปคล้ายตะกรันโลหะ ต่างกันที่ไม่มีรูพรุน
รูปร่างของอุกกาบาตบ้านร่องดู่คล้ายลูกสะบ้า กว้าง 7.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว หนา 4.5 นิ้ว น้ำหนัก 16.7 กิโลกรัม ความถ่วงจำเพาะ 8.08 บริเวณที่พบอุกกาบาตเป็นที่ดอนดินปนทราย เนื้อแน่นปานกลาง ความชื้นต่ำ ลูกอุกกาบาตมุดลงไปในดิน ขณะไปตรวจสอบซึ่งเป็นเวลาหลังจากเอาลูกอุกกาบาตออกมาแล้วพบว่าบริเวณนั้นเป็นหลุมลึก 110 เมตร ประเมินได้คร่าว ๆ ว่าอุกกาบาตพุ่งมาจากทิศใต้เฉียงไปทางตะวันตก 15 องศา และพุ่งลงมาโดยทำมุมประมาณ 80 องศากับพื้นราบ

ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์



ดาวฤกษ์ (อังกฤษ: star) คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์
ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้
ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า
ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้

ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์



ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่น ๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุก ๆ 1,400 ปี


โครงสร้าง
ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตรมีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็วกว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์คือ 28 วัน
ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบเป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือนในดวงอาทิตย์
ปัจจุบันเเละอนาคตของดวงอาทิตย์
ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปีในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุก ๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิตต่อมาได้มีการค้นพบ ว่าดวงอาทิตย์นั้นจะสว่างขึ้น 10 เปอร์เซนต์ ทุก ๆ 1000 ล้านปี ถึงตอนนั้นโลกก็ไม่อาจจะเอื้อ ต่อสิ่งมีชีวิตไปก่อนแล้ว เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงเหลือแค่ 500 ล้านปีเท่านั้น
หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน



ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร[1] หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์(ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า แต่ปัจจุบันดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)
ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก
ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 หรือ 14 ดวง และดวงใหญ่มากที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ส่วนดวงเล็กมากที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1
ประวัติการค้นพบ
นปี พ.ศ. 2389 เออร์เบียง เลอ เวอร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันแห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว
         วงเเหวน
วงแหวนของดาวเนปจูน (อังกฤษ: Rings of Neptune) มีลักษณะมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาด 1 ไมโครเมตรจนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส ซึ่งนักดาราศาสตร์สำรวจพบระบบวงแหวนของดาวเนปจูนเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 60 และในปี ค.ศ. 1989 ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินผ่านเข้าไปใกล้ดาวเนปจูนและบันทึกภาพส่งกลับมายังโลก ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนล้อมรอบด้วยกันถึง 5 วง
วงแหวนของดาวเนปจูน ได้แก่ วงแหวนแอดัมส์, วงแหวนอราโก, วงแหวนแลสเซลล์, วงแหวนเลอ แวรีเย และวงแหวนกัลเลอ นอกจากนั้นยังมีวงแหวนที่จางมาก ๆ และยังไม่มีชื่ออีก 1 วง ที่อยู่ในวงโคจรเดียวกันกับดวงจันทร์แกลาเทีย และยังมีดวงจันทร์บริวารของดาวเนปจูนอีก 3 ดวง คือ เนแอด, ทาแลสซา และดิสพีนา ที่มีวงโคจรอยู่ภายในระบบวงแหวนเช่นเดียวกัน
บริวาร
ดาวเนปจูนมีดาวบริวารเป็นที่รู้จักกันทั้งหมดสิบสี่ดวงโดยดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดคือดาวบริวารไทรทัน, ค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ เมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1846 เพียง 17 วันหลังจากการค้นพบดาวเนปจูน กว่าศตวรรษผ่านไปจึงมีการค้นพบดาวบริวารดวงที่สองมีชื่อเรียกว่านีเรียด ดาวบริวารของดาวเนปจูนเป็นชื่อของเทพแห่งน้ำในตำนานเทพเจ้ากรีก

ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส



ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol.ant.png หรือ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
ลักษณะทางกายภาพ
โครงสร้างภายใน
บรรยากาศชั้นนอก ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ลึกลงไปมีส่วนประกอบของ แอมโมเนีย มีเทน ผสมอยู่ด้วย ดาวยูเรนัสแผ่ความร้อนออกจากตัวดาวน้อยมาก อาจจะเป็นเพราะภายในไม่มีการยุบตัวแล้ว หรืออาจมีบางอย่างปิดกั้นไว้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด นักดาราศาสตร์คาดว่า แกนของดาวยูเรนัส มีลักษณะคล้ายกับดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ถัดมาเป็นแกนชั้นนอกที่เต็มไปด้วยแอมโมเนียและมีเทน เราจึงมองว่าดาวยูเรนัสเป็นสีเขียว
การหมุนรอบดวงอาทิตย์
ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 84 ปี แกนของดาวทำมุมกับระนาบระบบสุริยะถึง 98 องศา ทำให้ฤดูกาลบนดาวยาวนานมาก คือ ด้านหนึ่งจะมีฤดูหนาว 42 ปี และอีกด้านจะร้อนนาน 42 ปี และบางที่บนดาวพระอาทิตย์จะไม่ตกเลยตลอด 42 ปี และบางที่ก็จะไม่ได้รับแสงเลยตลอด 42 ปี ที่ระยะนี้ พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์แผ่มาน้อยมาก จึงทำให้กลางวันและกลางคืนของดาวยูเรนัสมีอุณหภูมิต่างกัน 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทั้งนี้การหมุนรอบดวงอาทิตย์ของดาวยูเรนัสยังตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คือหมุนไปในทิศตามเข็มนาฬิกาเหมือนกันกับดาวศุกร์
ดวงจันทร์บริวาร
ที่ค้นพบแล้วมีทั้งหมด 27 ดวง 5 ดวงหลัก คือ มิแรนดา (Miranda) แอเรียล (Ariel) อัมเบรียล (Umbriel) ทิทาเนีย (Titania) และโอเบอรอน(Oberon) ดวงจันทร์ทิทาเนียและโอเบอรอนพบโดยเฮอร์เชล 6 ปี หลังจากที่ค้นพบดาวยูเรนัส ส่วนแอเรียลและอัมเบรียลพบโดยวิลเลียม ลาสเชลล์
วงเเหวน
วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดยหอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมาตรงข้ามหน้าของมัน ยานวอยเอเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยก้อนฝุ่น ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่นที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน


ดาวเสาร์

ดาวเสาร์



ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาวโรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส (Cronos) ซึ่งเป็นบิดาแห่งซูส (Zeus) เทพแห่งดาวพฤหัสบดี โดยดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
ลักษณะทางกายภาพ
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
วงเเหวน
วงแหวนของดาวเสาร์ ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
บริวาร
ดาวเสาร์มีดวงจันทร์ซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 60 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ที่มีชื่อเสียงอย่างดวงจันทร์ไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดวงจันทร์เอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น
ดวงจันทร์ 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดวงจันทร์โทรจัน (หมายถึงกลุ่มดวงจันทร์เล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดวงจันทร์ดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดวงจันทร์ร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก)ส่วนดวงจันทร์ที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่
วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดวงจันทร์ของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดวงจันทร์แล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดวงจันทร์เล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น
ดวงจันทร์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดวงจันทร์ 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดวงจันทร์ดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดวงจันทร์ดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาว


ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี



ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ  เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอยูโรปาแกนีมีด และคัลลิสโตโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน
วงเเหวน

ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางและขนาดเล็กกว่า สามารถเห็นได้ในรังสีอินฟราเรดทั้งจากกล้องโทรทรรศน์ที่พื้นโลกและจากยานกาลิเลโอ
วงแหวนของดาวพฤหัสค่อนข้างมืด ซึ่งอาจประกอบด้วยเศษหินขนาดเล็ก และไม่พบน้ำแข็ง เหมือนที่พบในวงแหวนของดาวเสาร์ วัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวพฤหัสอาจไม่อยู่ในวงแหวนนาน เนื่องจากแรงเหวี่ยงที่เกิดจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวงแหวนได้วัตถุเพิ่มเติมจากฝุ่นที่เกิดจากอุกกาบาตตกชนดาวบริวารวงใน ซึ่งเนื่องจากพลังงานมหาศาลจากแรงดึงดูดขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี
ลักษณะ
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะวงโคจรของดาวบริวารต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ แกนีมีด เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ (เมื่อไม่นับรวมดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวง) ในขณะที่ดาวบริวารดวงอื่น ๆ ทั้งหมดมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวน้อยกว่า 250 กิโลเมตรและส่วนใหญ่ยาวไม่เกิน 5 กิโลเมตร แม้แต่ยูโรปาซึ่งเป็นดาวบริวารที่เล็กที่สุดในกลุ่มกาลิเลโอ ยังมีมวลมากกว่ามวลของดาวบริวารนอกกลุ่มทั้งหมดรวมกันถึง 5,000 เท่า วงโคจรก็มีทั้งเกือบเป็นวงกลมสมบูรณ์ เอียง และเป็นวงรี หลายดวงยังโคจรไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของดาวพฤหัสบดีอีกด้วย เวลาที่ใช้โคจรรอบดาวพฤหัสบดีก็ต่างกันตั้งแต่ 7 ชั่วโมงโลก (ซึ่งน้อยกว่าเวลาที่ดาวพฤหัสบดีใช้หมุนรอบตัวเอง) จนถึงประมาณ 3 ปีโลก
ดาวบริวาร
ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารเท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 67 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดาวบริวารของกาลิเลโอ (Galilean moons) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดาวบริวารขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก)
ดาวบริวาร 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดาวบริวารอีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดาวบริวารของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี
ดาวบริวารอื่น ๆ ที่เหลือเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดาวบริวารที่เพิ่งถูกค้นพบ 16 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร


ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมันหรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) ชื่อจีน เป็น 火星 ความหมายว่าดาวไฟเพาระสีส้มของมัน สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ 3.0 มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า

ลักษณะทางกายภาพ
โดยภาพรวมนั้นดาวอังคารมีขนาดที่เล็กกว่าโลก คือมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของโลกและมีน้ำหนักเทียบได้กับ 11% ของโลก ปริมาตร 15% ของโลก พื้นที่ผิวทั้งหมดของดาวอังคารยังน้อยว่าพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของโลกเสียอีก ส่วนสีของดาวที่เห็นเป็นสีส้ม-แดงนั้น เกิดจาก ไอร์ออน(II) ออกไซด์ ซึ่งเป็นที่รู้กันคือ แร่เหล็ก หรือสนิมเหล็กนั่นเอง

ดาวบริวาร
บริวารของดาวอังคาร มีอยู่ 2 ดวงเป็นดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงเป็นสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจับไว้

ชื่อภาพเส้นผ่านศูนย์กลาง (กม.)น้ำหนัก (กก.)ค่าเฉลี่ยของรัศมี (กม.)อัตราการหมุนรอบตัวเอง(ชม.)
โฟบอส
(Phobos)
Phobos moon (large).jpg22.2 (27 × 21.6 × 18.8)1.08E+169,3787.66
ไดมอส
(Deimos)
Deimos-viking1.jpg12.6 (10 × 12 × 16)2.0E+1523,40030.35

การสำรวจ
  • 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 - นายเจฟเฟรย์ แอนดรูวส์-แฮนนาและเพื่อนร่วมงาน แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ พบหลักฐานสำคัญว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีโครงสร้างของระบบน้ำซึม ซึ่งถือเป็นข้อพิสูจน์ชี้ให้เห็นว่าดาวอังคารเคยมีความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนกับองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตมาเป็นเวลานาน [7]
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2550 - ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ พบสิ่งที่ดูเหมือนถ้ำ 7 แห่ง บริเวณเนินลาดของภูเขาไฟบนดาวอังคาร โดยทางยานได้ส่งภาพของพื้นบริเวณหนึ่งซึ่งมืดและมีลักษณะเป็นทรงกลมที่เชื่อว่าเป็นปากถ้ำ เชื่อว่าภายในเป็นพื้นที่กว้างใต้ดินและน่าจะมีอากาศเย็นกว่าพื้นที่โดยรอบในเวลากลางวัน และอุ่นกว่าในเวลากลางคืน ถ้ำทั้ง 7 นี้ทางนาซาได้ตั้งชื่อให้ว่า "น้องสาวทั้ง 7” 

ยานอาวกาศ

  1. มาริเนอร์ 4
  2. มาริเนอร์ 9
  3. มาร์ส 3
  4. ไวกิ้ง
  5. มาร์สพาทไฟเดอร์
    6.   โรเวอร์ คิวริออสซิตี้

โลก


โลก


โลก (บาลีlokaอังกฤษworld) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก
ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด และโลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยาโลกหมายถึงโลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า "โลกาวินาส" หมายถึงสภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบัน
ประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึงสภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์
คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด
ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก


โครงสร้างเเละองค์ประกอบ

รูปร่าง

โลกมีรูปทรงกระบอกแบนขั้ว หมายความว่ามีรูปทรงกระบอกแต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์[1]

โครงสร้าง

เปลือกโลก

เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
  • ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
  • ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

รูปตัดฉาบของโลกจากบรรยากาศชั้นเอ็กโซสเฟียร์ลงลงมา

แมนเทิล

แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

แก่นโลก

ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
  • แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
  • แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

สภาพบรรยากาศ

สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
  1. โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
  2. สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฝุ่นเพิ่มมาเล็กน้อย
  3. เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
  4. ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
  5. เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
วงโคจรเเละการหมุนรอบตัวเอง
โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่นักวิทยาศาสตร์คำนวณได้ 23.56 ชั่วโมง แต่จะใช้ 24 ชั่งโมงเป็นหลัก และ 365 วันในหนึ่งปี โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านไมล์ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 108,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วงโคจรของดวงจันทร์ อยู่ห่างจากโลก 250,000 ไมล์ ดวงจันทร์จะหันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาโลกอยู่เสมอ และโคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกับวัตถุขนาดเล็กกว่าพันชิ้น และดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านส่วนแขนออริออน ดาราจักรทางช้างเผือก และจะเคลื่อนที่ครบรอบในอีก 10,000 ปีข้างหน้า